top of page
เหยื่อจากวัฒนธรรมทางสังคม
Dhn0jmkWAAANA2U2.jpg

     ประติมากรรม MWTH ความสูง 7 ฟุต ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเสียดสีประติมากรรมชิ้นสำคัญในศตวรรษที่ 16 อย่าง Perseus With The Head of Medusa ของ Benvenuto Cellini นั้น จะถูกนำไปจัดแสดงที่บริเวณพื้นที่หน้าศาลอาญาแห่งมหาครนิวยอร์กตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2020 จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2021 

     ศิลปินชาวอาร์เจนตินา-อิตาเลียน นามว่า Luciano Garbati นำประติมากรรมชิ้นสำคัญที่ชื่อว่า MWTH (Medusa With The Head of Perseus หรือ เมดูซ่าและหัวของเพอร์ซิอุส) ไปจัดแสดงไว้ที่หน้าศาลอาญาแห่งมหานครนิวยอร์ก ที่ได้รับการจัดขึ้นมาตั้งแต่ปี 1967 ณ งานศิลปะประจำปี "Art in the Parks"ที่ตัวศิลปินเองสามารถเลือกสถานที่จัดแสดงผลงานของตัวเองได้ทั่วมหานครนิวยอร์ก เขาเลือกบริเวณหน้าศาลอาญาแห่งมหานครนิวยอร์กเป็นที่จัดการแสดงชิ้นงานประติมากรรม เพื่อสร้างอีกแรงผลักดันครั้งใหญ่ให้กับงานประติมากรรมของตนเอง เนื่องจากศาลแห่งนี้เป็นสถานที่เดียวกันกับที่ใช้ตัดสินคดีล่วงละเมิดทางเพศมาแล้วหลายคดี คือคดีแห่งวงการสื่อ และวงการฮอลลีวู้ดอย่าง คดีการข่มขู่ และคุกคามทางเพศหญิงของ ฮาร์วีย์ ไวน์สตีน

     ประติมากรรม Medusa With The Head of Perseus หรือ เมดูซ่าและหัวของเพอร์ซิอุส ย้อนกลับไปในช่วงปี 2018 ที่ผ่านมา ผลงานประติมากรรมนี้ยังได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อ “สังคมปิตาธิปไตย” มาก่อนแล้ว ในแกลลอรี่จัดแสดงงานศิลปะ ณ กรุงลอนดอน โดยผลงานชิ้นนี้เป็นชิ้นงานที่เป็นเหมือนกบฏตีกลับมุมมองของมหากาพย์ Metamorphosis ด้วยการนำเอาเรื่องราวการปราบปีศาจเมดูซ่าของวีรบุรุษเพอร์ซิอุสที่เป็นเรื่องราวดั้งเดิม มาเล่าใหม่อีกครั้งผ่านประติมากรรมโดยที่หักมุมไม่เหมือนตำนาน ซึ่งทำตำนานใหม่ให้กับประติมากรรมเมดูซ่าในฐานะผู้สยบเพอร์ซิอุส มิใช่เพอร์ซิอุสผู้สยบเมดูซ่าอย่างที่ปกรณัมปรัมปราได้เคยฝังหัวคนทั้งโลกมาเป็นเวลานาน ยืนอย่างท้าทายด้วยสายตา และท่าทางที่มุ่งมั่น เพื่อเพื่อต่อสังคมโลกอีกครั้งว่า

 

“แน่ใจหรือว่าสิ่งที่ปกรณัมเล่าต่อกันมาเป็นเรื่องที่ถูกต้อง และยุติธรรมแล้วจริงๆ และวัฒนธรรมที่ผ่านมาให้ความยุติธรรมเพียงแต่กลุ่มสังคมเพศชายมากกว่า จนมองข้ามความเท่าเทียมทางมนุษย์ไป”

     ปกรณัมหรือตำนานของเมดูซ่าที่มีตรรกะบิดเบี้ยวที่อาจแต่งเพื่อความบันเทิงหรือความคิดจริงจัง ได้สะท้อนให้เห็นถึงการปลูกฝังจากวัฒนธรรมและผลประโยชน์ส่วนตนของคนกลุ่มหนึ่งที่มีอิทธิพลในการถ่ายทอดความบิดเบือนทางความคิดของมนุษย์ และความไม่เท่าเทียม เขามองกันในสังคมว่าเพศชายอำนาจเหนือกว่า ไม่ว่าจะเรื่องพละกำลัง การออกรบ  กับการทำความผิดแค่นี้ไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ผู้หญิงที่อ่อนแอ เกิดมามีรูปร่างอ่อนแอกว่าเพราะธรรมชาติจัดสรรให้ กับการต้องเป็นที่รองรับความโหดร้ายอย่างเดียวความผิดเพียงครั้งเดียวที่ทำให้ผู้หญิงที่ไม่เคยทำผิดเลยเป็นตำหนิ และเจ็บปวดทั้งชีวิตนี่คือตรรกะที่สังคมเพศชายเป็นใหญ่ต้องการจริงๆหรอ?

     ซึ่ง "Rape Culture" และ "Victim Shaming" ที่กำลังเป็นประเด็น ส่วนสำคัญคือวัฒนธรรมการข่มขืน และวัฒนธรรมการประณามเหยื่อ ที่เมื่อเกิดเรื่องราวคดีข่มขืนขึ้นมา ผู้ที่ถูกสังคมมุ่งเป้ากลับเป็นเหยื่อ ที่ทุกคนพร้อมจะหาความว่าเหยื่อมีสิ่งยั่วยุต่างๆจนนำไปสู่เหตุข่มขืนดังกล่าว ไม่ได้นึกถึงสิทธิของการเลือกสิ่งที่ตนเองต้องการของเพศหญิง เพียงเพราะเพศหญิงอาจเป็นเพศที่อยู่ภายใต้อำนาจของเพศชายอยู่นานแล้ว เมื่อสังคมเปลี่ยน สิทธิความคิด ความอิสระ เสรีภาพที่ควรได้รับอย่างเท่าเทียมของเพศหญิงกลับถูกตอกย้ำว่ายังคงต้องอยู่ภายใต้สังคมและวัฒนธรรมที่หญิงยังคงต้องยอมเป็นผู้ตาม ใต้อำนาจเพศชายทุกยุคทุกสมัย ในขณะที่ผู้ที่เป็นคนก่อเหตุกลับไม่ถูกสังคมมุ่งเป้าเท่าที่ควร ซึ่งในทางพื้นฐานของจิตใจมนุษย์ควรมีการยับยั้งชั่งใจ เห็นแก่ผู้อื่น มีความเมตตาให้กับมนุษย์ด้วยกัน แต่สุดท้ายแล้วว่าคำตอบของคำถามกับประเด็นนี้ก็ชัดเจนมากอยู่แล้ว “เพอร์ซิอุส และเหล่าทวยเทพในปกรณัมกล้าเรียกสิ่งนี้ว่าชัยชนะได้อย่างไร เมื่อเหยื่อถูกทำร้ายให้พ่ายแพ้ ซึ่งก็คือผู้หญิง เพศที่ให้กำเนิดมนุษย์ เช่นเดียวกับผู้ชายที่ได้รับการสนับสนุนที่ดีจากผลผลิตของเพศหญิงเช่นกัน”...

1jog60xgorh41.jpg

Perseus with the head of Medusa โดย Benvenuto Cellini (1545-1554)

     สุดท้ายนี้ การที่เป็นเพศที่อ่อนแอกว่าแต่กำเนิด ก็ใช่ว่าจะไร้ความสามารถในการเป็นผู้นำหรือความแข็งแกร่ง เพียงแต่คุณในสังคมเหล่านั้นไม่ได้ให้โอกาสให้คนเหล่านั้นได้แสดงความสามารถและความเก่งออกมา แต่ทำไมไม่มองย้อนคิดกลับว่าคนที่คอยอดทนผ่านเรื่องร้ายๆ โดยที่คนอื่นๆไม่เคยผ่านบททดสอบยากๆในชีวิตแบบเธอเหล่านั้นจะเป็นมนุษย์ที่แข็งแกร่งกว่าคุณ เพราะเขาผ่านบททดสอบที่ยากและเลวร้ายมาพร้อมความอดทนที่เข้มแข็งกว่า

bottom of page